วันพุธที่ 27 มกราคม พ.ศ. 2559


                 

ทศกาลทุ่งทานตะวันสระบุรี จังหวัดสระบุรี


        
จังหวัดสระบุรี ขอเชิญเที่ยวงาน "เทศกาลทุ่งทานตะวันบานสระบุรี" ปี 2558 ในระหว่างวันที่ 1 พฤศจิกายน 2558 ถึง 31 มกราคม 2559 ณ อำเภอมวกเหล็ก, อำเภอวังม่วง, อำเภอแก่งคอย, อำเภอพระพุทธบาท จังหวัดสระบุรี ภายในงานนักท่องเที่ยว สามารถ ถ่ายภาพ, ชมวิวกับบรรยากาศ เนินเขาสูงต่ำ และท้องทุ่งสีเหลืองของดอกทานตะวันบานที่มองดูสุดตา ในช่วงฤดูกาลท่องเที่ยว ทุ่งดอกทานตะวันได้อย่างเต็มอิ่ม
เมื่อเข้าสู่ช่วงปลายฝนต้นหนาวระหว่างเดือนพฤศจิกายน – ธันวาคม ของทุกปี ฤดูกาลท่องเที่ยว ทุ่งทานตะวัน จังหวัดสระบุรี  ริมฝั่งถนนจะสะพรั่งไปด้วยสีเหลืองของดอกทานตะวัน เป็นที่สะดุดตาแก่ผู้ผ่านมาบริเวณนี้เป็น อย่างมากจนกลายเป็น แหล่ง ท่องเที่ยวที่สำคัญของจังหวัด และในทุกปีจังหวัดสระบุรี จะจัด เทศกาลทุ่งทาน ตะวันบาน ในทุกปี สลับหมุนเวียนไปในแต่ละ อำเภอพื้นที่ เพื่อให้นักท่องเที่ยวได้เข้าไปชื่นชม และถ่ายภาพ เป็นที่ระลึก ตลอดจนการ ให้ความรู้เกี่ยวกับวิธีการปลูกดอกทานตะวัน การนำเอาผลผลิตจาก เมล็ดทานตะวันไป ใช้ประโยชน์ในการอุปโภคบริโภครวมทั้งการเลือกซื้ออาหารเพื่อสุขภาพ เช่น เมล็ดทานตะวันคั่วสด ๆ จากไร่ หรือหาซื้อน้ำผึ้งทานตะวันเป็นของฝากจังหวัดสระบุรีมีพื้นที่ปลูกทานตะวันนับหลายหมื่นไร่ บริเวณเขตติดต่อ ระหว่างจังหวัดลพบุรี และสระบุรี ตามเส้นทางสายพัฒนานิคม-วังม่วง มีการทำไร่ทานตะวันกันมาก รวมทั้งในอีก หลายอำเภอของสระบุรี เช่น อำเภอพระพุทธบาทแก่งคอย หนองโดน หนองแคและมวกเหล็ก แต่ที่อำเภอ วังม่วงจะมีพื้นที่ปลูกมากที่สุด






วัดร่องขุ่น, เชียงราย

วัดร่องขุ่น
วัดร่องขุ่น

วัดร่องขุ่น เป็นวัดที่มีความสวยงามโดดเด่นต่างจากวัดอื่นๆ ด้วยฝีมือการออกแบบ และก่อสร้างของ อ. เฉลิมชัย โฆษิตพิพัฒน์ ศิลปินชื่อดัง เพื่อเป็นวัดประจำบ้านเกิด สร้างโดยจินตนาการของอาจารย์ จัดเป็นงานพุทธศิลป์ที่ยิ่งใหญ่ และงดงามน่าแวะชมมากแห่งหนึ่ง
 อ. เฉลิมชัย โฆษิตพิพัฒน์ มีแรงบันดาลใจในการสร้างวัดแห่งนี้อยู่ 3 ประการ คือ เพื่อชาติ ศาสนา และพระมหากษัตริย์ ซึ่งอาจารย์บอกว่า
 จึงตั้งความปรารถนาที่จะถวายชีวิต ใช้ช่วงเวลาที่ดีที่สุดของตนเอง สร้างงานพุทธศิลป์ เพื่อเป็นงานประจำรัชกาลของ พระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัวให้ได้ และจะถวายชีวิตไปจนตายคาวัด" (จากเอกสารของวัดร่องขุ่น) ความงดงามของวัดแห่งนี้อยู่ที่ "โบสถ์" เพราะอาจารย์อยากจะเนรมิตวัดให้เหมือนเมืองสวรรค์ เป็นวิมานบนดินที่มนุษย์สามารถสัมผัสได้ โบสถ์ เปรียบเหมือนบ้านของพระพุทธเจ้า สีขาว แทนพระบริสุทธิคุณของพระพุทธเจ้า กระจกขาว หมายถึง พระปัญญาธิคุณของพระพุทธเจ้าที่เปล่งประกายไปทั่วโลกมนุษย์ และจักรวาล
 สะพาน หมายถึง การเดินข้ามวัฏสงสารมุ่งสู่พุทธภูมิ ก่อนขึ้นสะพานครึ่งวงกลมเล็ก หมายถึง โลกมนุษย์ วงใหญ่ที่มีเขี้ยวเป็นปากของพญามารหรือพระราหู หมายถึง กิเลสในใจแทนขุมนรกคือทุกข์ ผู้ที่จะเข้าเฝ้าพระพุทธเจ้าในพุทธภูมิต้องตั้งจิตปลดปล่อยกิเลสตัณหาของตนเองลงไปในปากพญามาร เพื่อเป็นการชำระจิตให้ผ่องใสก่อนที่จะเดินผ่านขึ้นไปพบกับพระราหูอยู่เบื้องซ้าย และพญามัจจุราชอยู่เบื้องขวา บนสันของสะพานจะประกอบไปด้วยอสูรกลืนกัน 16 ตน ข้างละ 8 ตน หมายถึง อุปกิเลส 16 จากนั้นก็จะถึงกึ่งกลางสะพานหมายถึง เขาพระสุเมรุ ซึ่งเป็นที่อยู่ของเทวดา ด้านล่างเป็นสระน้ำหมายถึง สีทันดรมหาสมุทร มีสวรรค์ตั้งอยู่ด้วยกัน 6 ชั้นด้วยกัน ผ่านสวรรค์ 6 เดินลงไปสู่พรหม 16 ชั้น แทนด้วยดอกบัวทิพย์ 16 ดอกรอบพระอุโบสถ ดอกที่ใหญ่สุด 4 ดอก ตรงทางขึ้นด้านข้างโบสถ์หมายถึง ซุ้มพระอริยเจ้า 4 พระองค์ ประกอบด้วยพระโสดาบัน พระสกิทาคามี พระอนาคามี และพระอรหันต์ เป็นสงฆ์สาวกที่ควรกราบไหว้บูชา
 ก่อนขึ้นบันได ครึ่งวงกลมหมายถึง โลกุตตรปัญญา บันไดทางขึ้น 3 ขั้นแทน อนิจจัง ทุกขัง และอนัตตา ผ่านแล้วจึ้งขึ้นไปสู่อรูปพรหม 4 แทนด้วยดอกบัวทิพย์ 4 ดอกและบานประตู 4 บาน บานสุดท้ายเป็นกระจกสามเหลี่ยมแทนความว่าง ซึ่งหมายถึงความหลุดพ้น แล้วจึงก้าวข้ามธรณีประตูเข้าสู่พุทธภูมิ













































































ภุชี้ฟ้า


ภูชี้ฟ้า

 

 เมื่อย่างเข้าสู่ฤดูหนาว ก็เหมือนเข้าสู่ฤดูกาลแห่งการท่องเที่ยว โดยเฉพาะการหลั่งไหลของผู้คนสู่ตอนบนของประเทศ สถานที่ท่องเที่ยวตามดอยและอุทยานต่าง ๆ ดูจะเย้ายวนเหล่าบรรดานักท่องเที่ยวมากที่สุด ว่าไหมคะ .... ดังนั้น วันนี้เลยขอเอาใจนักชอบเที่ยวทั้งหลาย พาไปท่องเที่ยวที่ "ภูชี้ฟ้า" รับรองว่าไม่ผิดหวังอย่างแน่นอน เพราะทะเลหมอกที่ภูชี้ฟ้าน่ะชนะเลิศ ทั้งบรรยากาศและธรรมชาติที่สวยงามจับใจ ราวกับภาพวาดเชียวหละ.. คอนเฟิร์ม!!! ว่าแล้วก็ไปท่องแดนแห่งขุนเขา และสายหมอกที่ภูชี้ฟ้ากันเลย....


นอกจากนี้ เสน่ห์ของ "ภูชี้ฟ้า" ยังคงมีบรรยากาศเมืองเหนือเหมือนอุทยานและดอยอื่น ๆ มีหมู่บ้านชาวเขา บริเวณตีน ภูชี้ฟ้า เป็นบรรยากาศของการท่องเที่ยว มีที่พักขนาดเล็กๆ หลายแห่งให้เลือกใช้บริการ ดำเนินงานโดยชาวเขาบ้างชาวเราบ้าง และที่บริเวณบ้านเช็งเม้งก่อนขึ้นสู่ตีนภูชี้ฟ้า เป็นหมู่บ้านชาวม้ง หากมาเยือนภูชี้ฟ้า ในช่วงปีใหม่ยังจะได้ชมงานปีใหม่ ที่ชาวม้งจะแต่งตัวม้งครบถ้วนทั้งหญิงและชาย จุดเด่นของงาน คือ การโยนลูกช่วงหรือลูกหินระหว่างหนุ่ม - สาว
 



  สำหรับภูมิอากาศบนภูเขา จะค่อนข้างเย็นแต่ฤดูกาลจะเป็นแบบมรสุมเมืองร้อน โดยได้รับอิทธิพลจากลมมรสุมตะวันตกเฉียงใต้ในช่วงฤดูฝน และลมตะวันออกเฉียงเหนือในช่วงฤดูหนาว แบ่งเป็น 3 ฤดู คือ ฤดูร้อน เริ่มตั้งแต่เดือนมีนาคมถึงเดือนพฤษภาคม ฤดูฝน เริ่มตั้งแต่เดือนมิถุนายนถึงเดือนตุลาคม และฤดูหนาว เริ่มตั้งแต่เดือนพฤศจิกายนถึงเดือนกุมภาพันธ์